ข้ามไปเนื้อหา

อแมนด้า ออบดัม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก อะแมนดา ออบดัม)
อะแมนดา ชาลิสา ออบดัม
เกิดอะแมนดา ชาร์ลีน ออบดัม
17 มิถุนายน พ.ศ. 2536 (30 ปี)
จังหวัดภูเก็ต ประเทศไทย
ชื่ออื่นชาลิสา ออบดัม
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยโทรอนโต (เกียรตินิยม​อันดับ​ 1)
อาชีพ
  • นักแสดง
  • นางแบบ
  • นางงาม
  • นักร้อง
  • ยูทูบเบอร์
ปีปฏิบัติงานพ.ศ. 2558−ปัจจุบัน
ตัวแทนTPN Global
ช่อง 7 (2560−2562)
ช่อง 3 (2566−ปัจจุบัน)
ผลงานเด่นดาลัดคิวปิด ตัวกวนป่วนรัก (2560)
เปรียวระบำมาร (2561)
อรุณรัศมี (เเพง)มาตาลดา (2566)
เชิญขวัญเว้าวอนรัก (2567)
อัคนียา รวีโชติช่วง (เฟลม)ลมเล่นไฟ (2567)
ส่วนสูง170 cm (5 ft 7 in)
ตำแหน่งมิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์ 2563
ผู้ดำรงตำแหน่งก่อนปวีณสุดา ดรูอิ้น
ผู้สืบตำแหน่งแอนชิลี สก็อต-เคมมิส
บิดามารดาพอล ออบดัม
ฉันทนา ออบดัม
รางวัลมิสทัวริซึมเมโทรโพลิตันอินเตอร์เนชันแนล 2016
(ชนะเลิศ)
มิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์ 2563
(ชนะเลิศ)
นางงามจักรวาล 2020
(10 คนสุดท้าย)
อาชีพทางดนตรี
แนวเพลงทีป็อป
เครื่องดนตรีเสียงร้อง
ช่วงปีพ.ศ. 2567–ปัจจุบัน
ค่ายเพลงบีอีซี มิวสิค (2567–ปัจจุบัน)

อแมนด้า ชาร์ลีน ออบดัม (อังกฤษ: Amanda Charlene Obdam; เกิด 17 มิถุนายน พ.ศ. 2536) ชื่อเล่น ด้า เป็นนักแสดง นางแบบ นางงาม และนักร้องชาวไทย ผู้ได้รับตำแหน่งมิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์ 2563 และเป็นตัวแทนประเทศไทยในการประกวดนางงามจักรวาล 2020 นอกจากนี้ยังได้รับตำแหน่งมิสแกรนด์ไรส์ซิงสตาร์ 2016 และมิสทัวริซึมเมโทรโพลิตันอินเตอร์เนชันแนล 2016

ประวัติ[แก้]

อแมนด้าเกิดเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2536 ที่จังหวัดภูเก็ต บิดาเป็นชาวแคนาดาเชื้อสายดัตช์ และมารดาเป็นชาวไทยเชื้อสายจีน[1] อแมนด้าจบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นจากโรงเรียนสตรีภูเก็ต (ภาคภาษาอังกฤษ) และเข้าศึกษาที่โรงเรียนนานาชาติบริติช ภูเก็ต จนจบเกรด 12 หลังจากนั้นเธอได้เข้าศึกษาต่อในด้านเศรษฐศาสตร์และการบริหารธุรกิจและการจัดการ ที่มหาวิทยาลัยโทรอนโต ประเทศแคนาดา จนสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี เกียรตินิยมอันดับ 1 ในปี พ.ศ. 2558[1]

การประกวด[แก้]

มิสไทยแลนด์เวิลด์ 2558[แก้]

อแมนด้า ออบดัม ได้เข้าร่วมประกวดมิสไทยแลนด์เวิลด์ ปี 2015 และสามารถผ่านเข้ารอบ 10 คนสุดท้ายในการประกวด พร้อมกับรางวัลพิเศษนางงามสุขภาพดี และนางงามที่มีทักษะด้านการเดินแบบ

มิสแกรนด์ภูเก็ต 2016[แก้]

อแมนด้าได้เข้าร่วมประกวดมิสแกรนด์ภูเก็ต ประจำปี 2016 และเมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2559 และสามารถคว้าตำแหน่งชนะเลิศมาครองได้สำเร็จ โดยเธอเป็นมิสแกรนด์ภูเก็ตคนแรกของประเทศไทย และเป็นตัวแทนของจังหวัดภูเก็ตในการประกวดมิสแกรนด์ไทยแลนด์ 2016[2][3]

มิสแกรนด์ไทยแลนด์ 2016[แก้]

อแมนด้าได้เป็นตัวแทนจังหวัดภูเก็ตในการเข้าร่วมประกวดมิสแกรนด์ไทยแลนด์ 2016 และได้ผ่านเข้ารอบ 10 คนสุดท้าย รวมถึงได้รับตำแหน่งมิสไรส์ซิงสตาร์ 2016 และรองอันดับ 2 ขวัญใจอุดรธานี[4] พร้อมกับการเซ็นสัญญาเป็นนักแสดงกับสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7

มิสทัวริซึมเมโทรโพลิตันอินเตอร์เนชันแนล 2016[แก้]

อแมนด้าได้รับการแต่งตั้งให้เป็นตัวแทนประเทศไทยในการประกวดมิสทัวริซึมเมโทรโพลิตันอินเตอร์เนชันแนล ปี 2016 ที่ประเทศกัมพูชา จัดขึ้นในวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 โดยในการประกวดครั้งนี้เธอสามารถคว้าตำแหน่งชนะเลิศมาได้สำเร็จ พร้อมด้วยตำแหน่งขวัญใจช่างภาพ[5][6][7]

มิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์ 2563[แก้]

อแมนด้าได้เข้าร่วมประกวดมิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์ ปี 2020 ในรอบ 50 คนสุดท้าย เธอได้ Golden Tiara 16 โหวตจาก กรรมการ 17 ท่าน ต่อมาในรอบ 20 คนสุดท้าย เธอได้ Speech Wild Card เพื่อผ่านเข้ารอบอัตโนมัติ และเธอได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวด มิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์ 2020 พร้อมได้รับรางวัลพิเศษมิสปริศนา

นางงามจักรวาล 2020[แก้]

อแมนด้าเป็นตัวแทนประเทศไทยในการประกวดนางงามจักรวาล 2020 ที่รัฐฟลอริดา สหรัฐอเมริกา จัดขึ้นในวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 โดยในการประกวดครั้งนี้เธอสามารถผ่านเข้ารอบ 10 คนสุดท้ายในการประกวด[8]

ผลงานการแสดง[แก้]

ละครโทรทัศน์[แก้]

ปี เรื่อง บทบาท
2566 มาตาลดา อรุณรัศมี เศวตพิพัฒนากุล (แพง)
2567 เว้าวอนรัก เชิญขวัญ ราชมนตรี / หม่อมเชิญขวัญ เศวตวัน ณ อยุธยา
ลมเล่นไฟ อัคนียา รวีโชติช่วง (เฟลม) (นางร้ายเรื่องแรก)
ยิหวาดาตัง ยิหวา
ปี เรื่อง บทบาท
2560 คิวปิด ตัวกวนป่วนรัก ดาลัด
2561 นักสู้สะท้านฟ้า ครูแจง
เจ้าสาวจำยอม เป้ย
ระบำมาร เปรียว
2567 ขวัญหล้า นันท์นภัส (นันท์) (เจ้าของกำไลตัวจริง) (รับเชิญ)

ละครสั้น[แก้]

ปี เรื่อง บทบาท
2560 ฟ้ามีตา ตอน...ไม้ฝาโลง อ้อย

ซีรีส์[แก้]

ปี เรื่อง บทบาท
2567 Ready Set Love เกมชนคนโสด ซาร่า

รางวัล[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "ประวัติ "อแมนด้า ออบดัม" สาวสวยลูกครึ่งคนเก่ง ที่มาพร้อมเกียรตินิยมอันดับที่ 1 จากแคนาดา". Sanook. 10 October 2020.
  2. phukethotnews. "มารู้จักมิสแกรนด์คนแรกของภูเก็ตกันเถอะ". สืบค้นเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. manager. ""อแมนดา ชาร์ลีน ออบดัม" คว้ามงกุฎมิสแกรนด์ ภูเก็ต คนแรก". สืบค้นเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  4. thairath. "เอกซเรย์ 5 สาวเซี้ยะแซ่บ! มีสิทธิ์ลุ้นมงใหญ่". สืบค้นเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. posttoday. "ชาลิสา อแมนด้า สวยสง่า! คว้ามงกุฎมิสทัวริซึ่มอินเตอร์ฯ 2016". สืบค้นเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. news.ch7. "ชาลิสา อแมนด้า คว้ามงกุฎ Miss Tourism Metropolitan International 2016". สืบค้นเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  7. khaosod. "เปิดตัว "พลายทรงสุริยะกษัตริย์" ชุดประจำชาติของ "ชาลิสา อแมนด้า"". สืบค้นเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. posttoday. "เปิดตัว "ทำดีที่สุดแล้ว! "อแมนด้า"สร้างความสุขให้คนไทยเข้ารอบ10คนสุดท้าย Miss Universe"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-17. สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ก่อนหน้า อแมนด้า ออบดัม ถัดไป
รางวัลและความสำเร็จ
ปวีณสุดา ดรูอิ้น ไทย
มิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์

(2563)
แอนชิลี สก็อต-เคมมิส
ยูกันดา เชลลา คีราโบ มิสทัวริซึมเมโทรโพลิตันอินเตอร์เนชันแนล
(2016)
โปแลนด์ มายา เชียรอน
ประกวดครั้งแรก จังหวัดภูเก็ต
มิสแกรนด์ภูเก็ต

(2016)
วิมพ์วิภา บุหงางาม